องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

เปิดประสบการณ์ใหม่ไปกับเรา...ชาวห้วยโทน

ชุมชนปรับเปลี่ยนสู่ระบบการผลิตที่ยั่งยืน จากไร่หมุนเวียนแบบดั้งเดิมมาเป็นระบบเกษตรที่สร้างมูลค่า เกษตรกรร้อยละ 76 มีรายได้ที่ยั่งยืนจากการปลูกกาแฟอราบิก้าใต้ร่มเงาไม้ป่า

เปิดการเรียนรู้

มิถุนายน 2567

สถานที่

บ้านห้วยโทน หมู่ 2 ต.ดงพญา อ.บ่อเกลือ จ.น่าน

โดย

โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง "บ่อเกลือ"

 

ผลสำเร็จจากการดำเนินงาน


สร้างอาชีพ สร้างรายได้ แก้ไขความยากจน

เกษตรกรมีรายได้เฉลี่ย 100,000 - 250,000 บาท/ครัวเรือน/ปี ปี 2565 ชุมชนมีรายได้รวม 8,241,086 บาท ชุมชนปรับเปลี่ยนสู่ระบบการผลิตที่ยั่งยืน จากไร่หมุนเวียนแบบดั้งเดิมมาเป็นระบบเกษตรที่สร้างมูลค่า (กาแฟอราบิก้า ข้าวนาขั้นบันได ไม้ผล ท่องเที่ยวเชิงเกษตร) เกษตรกรร้อยละ 76 มีรายได้ที่ยั่งยืนจากการปลูกกาแฟอราบิก้าใต้ร่มเงาไม้ป่า ชุมชนจดทะเบียนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ผลิตกาแฟบ้านห้วยโทน (127 ครัวเรือน) มีสมาชิก 93 ราย สร้างแบรนด์สินค้า พัฒนามาตรฐานกาแฟ สร้างเครือข่ายตลาดออนไลน์ ในปี 2565 กลุ่มกาแฟมีรายได้สะสมรวม 6,242,026 บาท


เพิ่มพื้นที่สีเขียว ดูแลป่าต้นน้ำ

ชุมชนลดพื้นที่ปลูกข้าวไร่ ลดการเผา คืนพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนกว่า 1,505 ไร่ ชุมชนรวมกลุ่มจิตอาสา ทำแนวกันไฟ บวชป่า ปลูกป่าคืนพื้นที่ป่าให้แก่อุทยานแห่งชาติขุนน่านกว่า 200 ไร่ ชุมชนร่วมพัฒนาแหล่งน้ำ ดูแลป่าต้นน้ำ/ป้องกันไฟป่าพื้นที่รวม 10,645.96 ไร่

ชุมชนปรับเปลี่ยนสู่ระบบการผลิตที่ยั่งยืน จากไร่หมุนเวียนแบบดั้งเดิมมาเป็นระบบเกษตรที่สร้างมูลค่า เกษตรกรร้อยละ 76 มีรายได้ที่ยั่งยืนจากการปลูกกาแฟอราบิก้าใต้ร่มเงาไม้ป่า

หลักสูตรการเรียนรู้

1. กาแฟดูแลป่า สร้างรายได้ยั่งยืน

2. การรวมกลุ่ม ชุมชนเข้มแข็ง

3. ภูมิปัญญาและพืชสมุนไพรท้องถิ่น

4. กลุ่มโฮมสเตย์ ท่องเที่ยววิถีชุมชน

5. นาขั้นบันได เพิ่มความมั่นคงทางอาหาร

ชุมชนต้นแบบการแก้ไขปัญหาความยากจนบนพื้นที่สูง บ้านห้วยโทน อ.บ่อเกลือ จ.น่าน โดย โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)

A = จุดเริ่มต้น B = แหล่งเรียนรู้

ข้อมูลประชากร เศรษฐกิจ และสังคม โครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือมีพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 4 หมู่บ้าน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 374 ครัวเรือน และจำนวนประชากรทั้งหมด 1,579 คน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยการปลูกพืชไร่ และข้าวโพด เป็นหลัก อาชีพรองลงมาคือการหาของป่าขาย เช่น หวาย ก๋ง ล่าสัตว์ และการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงเพื่อขายและใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น วัวพื้นเมือง ควายพื้นเมือง เป็ด ไก่พื้นเมือง หมู และรับจ้างทั่วไป ปัจจุบันโครงการพัฒนาแบบพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงบ่อเกลือได้ดำเนินงานพัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชน โดยการส่งเสริมอาชีพทางเลือก เพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร โดยประกอบด้วย ภาคการเกษตร ได้ส่งเสริมการปลูก พืชผักทั้งในและนอกโรงเรือน สนับสนุนการเพิ่มผลผลิตพืชไร่ (ข้าวไร่) ส่งเสริมปลูกไม้ผลที่มีความเหมาะสม กับสภาพพื้นที่ ได้แก่ องุ่น อาโวกาโด เสาวรสหวาน และสตรอเบอรี่ ทดแทนการปลูกพืชไร่ ส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ ได้แก่ หมูหลุม เพื่อบริโภคในครัวเรือน และสร้างรายได้เสริม ในส่วนของภาคนอกการเกษตร ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร โฮมสเตย์ ลานกางเต็นท์ และพัฒนางานหัตถกรรมท้องถิ่น