องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

ลิวคาเดรนดรอน

ลิวคาเดรนดรอน (Leucadendron) เป็นไม้ดอกอยู่ในตระกูล Poteaceae มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแอฟริกาใต้ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาพอากาศที่เย็นเนื่องจากพื้นที่สูงของประเทศไทยมีสภาพใกล้เคียงกับถิ่นกำเนิด จึงได้นำเอาไม้ดอกชิดนี้มาทดสอบปลูกในพื้นที่สูงของมูลนิธิโครงการหลวง

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

สามารถปลูกกลางแจ้งได้ดี ดินมีความเป็นกรด มีการระบายน้ำดี ทนทานต่อสภาพแห้งแล้งชอบที่ที่มีแสงแดดเต็มที่ ทนลมแรง

การตลาด

ลิวคาเดรอนเป็นไม้ดอกที่ใบประดับมีสีสันสวยงาม นักจัดดอกไม้นิยมใช้เป็นดอกใม้เสริม มีแนวโน้มความต้องการของตลาดีมาก

การขยายพันธุ์ ลิวคาเดรนดรอนสามารถขยายพันธุ์ได้ 2 วิธี คือ

การเพาะเมล็ด

เพาะในการะบะเพาะ วัสดุเพาะ ได้แก่ ทรายหยาบ ขุยมะพร้าว ขี้เถ้าแกลบอัตร่าวน 1:1:1 ระยะเวลาใช้ในการเพาะประมาณ 15-20 วัน จึงเริ่มงอก

การปักชำ

ใช้กิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนได้ผลดี ชำในวัสดุชำ ประกอบด้วย ขุยมะพร้าว ทราย ในอัตราส่วน 2:1 หรือขุยมะพร้าว ทรายและเม็ดโฟม ในอัตราส่วน 8:4:1 ใช้ฮอร์โมนเร่งราที่เป็นการค้า เช่น รูสโกร ความเข้มข้น 3,000 ppm หรือใช้ฮอร์โมนในระดับความเข้มข้น NAA 2,000 ppm + IBA 2,000 ppm ระยะเวลาสำหรับการปักชำประมาณ 45-60 วัน

การเตรียมแปลงปลูกและวิธีการปลูก 

การเตรียมแปลง

เนื่องจากลิวคาเดรนดรอนที่มีทรงพุ่มขนาดใหญ่ ดังนั้นระยะปลูกจึงใช้ระยะ 2x2 เมตร ขุดหลุมลึก 50 เซนติเมตร หลังจากปลูกควรพยุงต้นโดยใช้ไผ่ตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 60 เซนติเมตร เพื่อป้องกันต้นเอียงหรือล้ม พื้นที่ปลูกควรเป็นที่ลาดชันเพื่อให้มีการระบายน้ำดีน้ำไม่ท่วมขัง

เทคนิควิธีการตัดแต่งกิ่ง

การตัดแต่งกิ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อคุณภาพและปริมาณผลผลิต เมื่อต้นเจริญเตบโตจำนวนของกิ่งเพิ่มปริมาณมากขึ้น ความหนาแน่นของกิ่งทำให้พื้นที่ในการพัฒนาทางด้านการเจริญเติบโต มีจำกัด การระบายอากาศไม่ดีทำให้เกิดโรคได้ง่าย การตัดแต่งกิ่งสามารถทำได้เมื่อต้นมีการเจริญเติบโตเต็มที่ ทำการตัดแต่งกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ออกและเหลือกิ่งที่แข็งแรงสมบูรณ์ไว้ประมาณ 5 กิ่ง ตัดยอดของกิ่งทิ้งให้เหลือคู่ใบประมาณ 6-5 คู่ใบ เมื่อกิ่งที่ทำการตัดทิ้งแตกยอดใหม่ทำให้ได้ยอดที่มีคุณภาพและสามารถเก็บผลผลิตได้ การตัดแต่งกิ่งหลังจากเก็บผลผลิตสามารถทำได้เมื่อเก็บผลผลิตแล้วเสร็จประมาณ 2 สัปดาห์ โดยทำตามวิธีเบื้องต้นที่กล่าวมา วิธีการตัดแต่งนี้ทำให้สามารถควบคุมคุณภาพและปริมาณของผลผลิตที่ออกสู่ตลาดล่วงหน้าได้ และหลังจากการตัดแต่งกิ่งทุกครั้งควรใช้สารเคมีป้องกันเชื้อราป้ายบริเวณแผล เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อรา

การดูแลรักษา 

แสงและอุณหภูมิ ลิวคาเดรนดรอนต้องการแสงเต็มที่ในการเจริญเติบโต พื้นที่ปลูกควรเป็นที่โล่งแจ้งรับแสงแดดได้ตลอดวัน มีการระบายอากาศได้ดี

โรคและแมลง

โรคเน่าคอดิน

เกิดจากเชื้อรา Fusalium sp.

การป้องกันกำจัด ก่อนปลูกให้รองก้นหลุมโดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าถ้าโรคเกิดที่ดินเก่าอาการไม่รุนแรงให้ขุดบริเวณรอนต้นแล้วใส่เชื้อเตรโครเดอร์ม่าลงไปแต่ถ้าพบอาการเป็นมากแล้วให้ขุดทิ้งและเผาทำลายอาการปลายใบไหม้เป็นสีน้ำตาลแห้งใบเป็นจุดค่อนข้างกลม

เกิดจากเชื้อ Pestalotiopsis sp.

การป้องกันและกำจัด ตัดแต่งใบและส่วนที่เป็นโรคออกจากแปลงแล้วนำไปเผาทำลาย ควบคุมโดยใช้สารเคมีประเภทไดเทนเอ็ม-45 หรือดาโคนิล สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หรือเมื่อพบอาการ

แมลงที่พบ ส่วนใหญ่พบแมลงปีกแข็ง จะเข้าทำลายในฤดูฝน

การให้น้ำและปุ๋ย

ในช่วงฤดูร้อนและฤดูหนาวให้น้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ส่วนฤดูฝนความสังเกตอย่าให้น้ำท่วมขังอันเป็นสาเหตุของโรคเน่าได้ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 ปริมาณ 10 กรัม/ต้น เดือนละ 1 ครั้งและพ่นปุ๋ยทางใบ สูตร 30-20-10 เดือนละ 1 ครั้ง

การเก็บเกี่ยว 

ลิวคาเดรนดรอนสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดปี และสามารถกำหนดการเก็บเกี่ยวได้โดยการตัดแต่งกิ่ง

วิธีการเก็บเกี่ยว

ตัดเมื่อใบแก่จัดมีสีเข้มตามลักษณะของแต่ละพันธุ์ ใบต้องไม่มีตำหนิ และต้องแช่น้ำทันทีเมื่อตัดผลผลิต

สภาพแวดล้อมขณะเก็บเกี่ยว

สามารถตัดแต่งได้ตลอดทั้งวันเพราะพืชกลุ่มนี้ก้านดอกเป็นไม้เนื้อแข็งทนต่อการขาดน้ำได้ดี

การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว 

การใช้สารเคมียืดอายุการใช้งาน เนื่องจากพืชกลุ่มนี้ใบเปลี่ยนเป็นสีคล้ำดำได้ง่ายจึงควรมีการ Pulsing การ Pulsing ประกอบด้วยน้ำตาลซูโครส 5 เปอร์เซ็นต์ ที่อุณหภูมิ 20-25 องศาเซลเซียส นาน 12 ชั่วโมง ความเข้มข้นสูงกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ จะทำให้ใบดำเร็วขึ้น

อุณหภูมิในการเก็บรักษา เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 0-1 องศาเซลเซียส การลดอุณหภูมิทันทีและเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิต่ำตลอดเวลาสามารถป้องกันใบดำได้ ต้องระวังอย่าให้เกิดหยดน้ำขึ้นที่ใบเพราะเป็นการเร่งให้ใบดำหรือคล้ำลง


เอกสารอ้างอิง :

มูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน). 2549. คู่มือการผลิตไม้ตัดดอกและไม้ตัดใบ. มูลนิธิโครงการหลวง. เชียงใหม่. 375 หน้า.