องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

ลิอะทรีส

ดอกลิอะทรีส Liatris spicata อยู่ในวงค์ Compositae เป็นไม้ตัดดอกที่สามารถปลูกได้ในศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำริน และทำรายได้ให้แก่เกษตรกรที่อยู่บนพื้นที่สูงเป็นอย่าดี

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

เป็นพืชที่ชอกอากาศเย็นความสูงระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 800-1,000 เมตร

การขยายพันธุ์

วิธีการขยายพันธุ์

ด้วยการแบ่งหัวซึ่งหัวพันธุ์ลิอะทรีสปลูก 1 หัว จะได้พันธุ์ใหม่ทดแทนอย่างน้อย 3-4 หัว ในหัวเก่า

ช่วงระยะเวลาที่ใช้ในการขยาพันธุ์

เริ่มขยายปลูกหัวพันธุ์ใช้เวลา 2 เดือน ตัดดอกแล้วดูแลหัวพันธุ์ใหม่แระมาณ 3 เดือน

การเตรียมแปลงปลูกและวิธีการปลูก

การเตรียมแปลง

ทำแปลงปลูกกว้าง 1 เมตร ความยาวแล้วแต่ความต้องพอดีของพื้นที่ โดยทำการพรวนดินให้ร่วนซุย

การเตรียมดิน

การปลูกไม้หัวต้องเตรียมดินอย่างดีมีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ การเตรียมแปลงควรขุดดินให้ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร

เทคนิควิธีการปลูก

การปลูกลิอะทรีส ที่ปลูกตัดดออกจะใช้หัวพันธุ์ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร ซึ่งจะทำให้ได้ คุณภาพดอกและผลผลิตที่ดี หัวพันธุ์จะต้องผ่านการพักตัวในห้องเย็นที่อุณหภูมิ 1-2 องศาเซลซียส เป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นนำหัวพันธุ์มาแช่ฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน ความเข้มข้น 300 ppm นาน 1 ชั่วโมง ก่อนปลูกควรแช่สารเคมีป้องกันเชื้อราแคปแทนผสมแคงเกอร์เอกซ์ หรือแคปแทนผสมโคแมกหรือไดเทนเอ็ม-45 นาน 15-30 นาที ระยะการปลูก 30x30 เซนติเมตร ปลูกลึก 5 เซนติเมตร กลบหัวหนา 3 เซนติเมตร หลังปลูกควรมีวัสดุคลุมแปลงเพื่อควบคุมความชื้นของดิน และป้องกันหน้าดินแน่น และใบเกิดโรคเนื่องจากดินกระเด็นถูกใบ การปลูกในช่วงฤดูฝนควรปลูกภายใต้โรงเรือนกันฝน

การค้ำยันพยุงลำต้น

ตาข่าย 15x15 เซนติเมตร เพื่อป้องกันลำต้นช่อดอกคดงอ และขยับตาข่ายขึ้นตามความสูงของต้อนลิอะทรีส

การบังคับดอก

ลิอะทรีสเป็นไม้ดอกวันยาวต้องการแสงแดดจัดในการให้ดอกหลังปลูก 1 เดือน ต้นจะมีการเจริญเติบโตและแตกกอสมบูรณ์พร้อมจะให้ดอกจะต้องเพิ่มวันยาวให้ 3 ชั่วโมง/วันโดยเปิดไฟแสงสว่างความเข้มข้นแสง 100 ลักซ์ เพิ่มในตอนกลางคืนประมาณ 45 วัน หรือจนกระทั่งช่อดอกเริ่มเห็นสีจึงหยุดให้ไฟ โดยเฉพาะการปลูกลิอะทรีสในช่วงเดือนสิงหาคม-มกราคม

การตัดแต่งต้น

เมื่อต้นเริ่มแทงช่อดอกให้ตัดแต่งช่อดอกที่ไม่สมบูรณ์มีขนาดเล็กออกให้เหลือแต่ช่อดอกที่สมบูรณ์ 4-5 ช่อ/ต้น หลังตัดแต่งควรพ่นสารเคมีแคปแทนผสมเบนเลทเพื่อป้องกันโรคที่จะเข้าทำลายด้านทางบาดแผลที่ตัดกิ่ง

การจัดการด้านความเข้มแสง

ในช่วงเดือนที่มีกลางวันสั้น เช่น ฤดูหนาวควรใช้ไฟฟ้าเพื่อเพิ่มแสงสว่างในตอนกลางคืนโดยใช้หลอดไฟ 100 แรงเทียน ระยะห่าง 2 เมตร สูงจากพื้น 2 เมตร เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของก้านดอกให้สูงขึ้น ให้แสงสว่างตอนกลางคืนประมาณ 3 ชั่วโมง นาน 1 เดือน

การจัดการด้านอุณหภูมิ

ลิอะทรีสมีการเจริญเติบโตได้ดีใน่วงเดือนมีนาคม-กรกฎาคม ซึ่งมีอุณภูมิที่เหมาะสมประมาณ 15-20 องศาเซลเซียส ไม่ว่าจะอยู่ในโรงเรือนหรือเป็นการปลูกนอกโรงเรือน

ปุ๋ย ควรรดปุ๋ยน้ำพร้อมกับการรดน้ำต้นพืชตามที่มูลนิธิโครงการหลวงแนะนำ สัปดาห์ละ 2 ครั้ง จนกระทั่งเริ่มตัดดอก โดยสูตรผสม ดังนี้

 ปุุ๋ย                         ถัง A (กิโลกรัม)        ถัง B (กิโลกรัม) 

 โมโนแอมโมโนฟอสเฟต 11-60-0         8                  -

แคลเซียมไนเตรท 15-0-0             -                  20

โปรแตสเซียมไนเตรท 13-0-46           10                  10

แมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO4.7H2O)        4                  -

ยูนิเลท                         0.5                 -

ปุ๋ยน้ำเข้มข้น (Stock) ตวงปุ๋ยน้ำสูตร A และ B อย่างละ 1 ลิตร ผสมน้ำสะอาดจำนวน 200 ลิตร คนให้เข้ากันก่อนรดน้ำสามารถรดต้นพืชได้ 100 - 150 ตารางเมตร และควรให้ปุ๋ยเสริม เช่น ยูเรีย ละลายน้ำในระยะแรกของการเจริญเติบโตหรือปุ๋ยเกร็ดไบโฟลาน ปุ๋ยปลาเสริมเป็นบางครั้งแล้วแต่ความเหมาะสม

โรคและศัตรพืช

โรคหัวเน่า โคนหัวเน่า

เกิดจากเชื้อรา Fusariun spp., Rhizoctonia sp. และราเมล็ดผักกาด Sclerotium rolfsii

อาการใบเหลือง โคนต้นเน่า ต้นชะงักการเจริญเติบโต ต้นเหี่ยว และแห้งตาย

วิธีป้องกัน แช่หัวพันธุ์ก่อนปลูก ใช้ส่ารเคมีเทอร์ราคลอร์ ซุปเปอร์เอ็กหรือแคปแทนผสมเบนเลท หรือพรอนโต รากบริเวณที่ขุดออก และต้นใกล้เคียงหรือสารเคม๊อบดินเป็นครั้งคราว

โรคใบไหม้

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Rhizoctonia sp.

อาการปลายใบมีอาการไหม้ บริเวณโคนต้นพบเชื้อรา

วิธีการป้องกัน ถอนต้นกล้าที่แสดงความรุนแรงออกจากแปลงแล้วใช้เบนเลทผสมแคปแทน อัตรา 1:1 ราดดคนต้นสลับกับเทอร์ราคลอร์ซุปเปอร์เอ็กซ์

เพลี้ยไฟ

อาการ พบมากในฤดูร้อนหรือช่วงออกดอก เพลี้ยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ดอกบานไม่เต็มที่

วิธีป้องกัน ใช้สารเคมี คอนฟิดอร์ หรือเมซูโรล

การให้น้ำ

ควรให้น้ำสม่ำเสมอ ถ้าดินยังมีความชื้นให้ลดความถี่ของการให้น้ำลงโดยทดสอบบีบเนื้อดิน การปลูกนอกโรงเรือนควรระมัดระวังเรื่องน้ำขังช่วงหน้าฝน ต้องทำทางระบายน้ำให้ดีเนื่องจากทำให้หัวเน่า

การเก็บเกี่ยว

ตัดเมื่อดอกบานได้ 30 เปอร์เซ็นต์ ของช่อดอก หรือ 1/3 ของช่ออก

การวัดมาตรฐาน

 เกรด        ความยาวก้าน          ความยาวช่อดอก

Extra       80 เซนติเมตร                   40 เซนติเมตร

1                   70 เซนติเมตร                   30 เซนติเมตร

2                   60 เซนติเมตร                   25 เซนติเมตร

3                   50 เซนติเมตร                   20 เซนติเมตร

4                   45 เซนติเมตร                   15 เซนติเมตร

ทุกชั้นมาตรฐานก้านดอกต้องแข็งแรง ดอกย่อยมีลักษณะสมบูรณ์ไม่ผิดปกติมีลักษณะตรงตามพันธุ์ปราศจากโรคและแมลงทำลาย

การเข้ากำ

เด็ดใบออกจากโคนต้นให้สูงขึ้นมา 10 เซ็นติเมตร แล้วบรรจุหีบห่อเป็นกำละ 10 ช่อ หุ้มปลายก้านด้วยสำลีชุบน้ำบรรจุดอกด้วยกระดาษขาวบาง

การใช้สารเคมี

เพื่อตัดในระยะที่ดอกย่อยยังตูมอยู่ เพราะต้องขส่งเป็นระยะเวลานานหรือเพื่อเก็บรักษา จะต้องแช่ดอกในสานเคมีเพื่อให้ดอกบานซึ่งประกอบด้วย 8 HQC 200 มิลลิกรัม/ลิตร และน้ำตาลทราย 50 กรัม/ลิตร สารเคมีดังกล่าวยังสามารถยืดอายุการปักแจกันของดอกลิอะทรีสได้ประมาณ 2 วัน และกระตุ้นให้ดอกบานมากขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย

การขนส่งลิอะทรีส เป็นดอกไม้ที่ค่อนข้างทนทานต่อการขนส่ง

วิธีการเก็บเกี่ยว ใช้กรรไกรตัดโคนกิ่งดอก

สภาพแวดล้อมขณะเก็บเกี่ยว (ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเกี่ยว) ช่วงเช้าหรือเย็น

การแช่น้ำยา (ส่วนประกอบของน้ำยารักษาสภาพและวิธีการแช่)

ควรใช้สารเคมี เมื่อตัดในระยะที่ดอกย่อยยังตูมอยู่เพราะต้องขนส่งเป็นระยะเวลานานหรือเพื่อเก็บรักษา จะต้องแช่ดอกในสารเคมีที่ช่วยให้ดอกบานซึ่งประกอบด้วย HQC 200 มิลลิกรัม/ลิตร และกระตุ้นให้ดอกบานมากขึ้น และเร็วขึ้นด้วย


เอกสารอ้างอิง :

มูลนิธิโครงการหลวงและสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน). 2549. คู่มือการผลิตไม้ตัดดอกและไม้ตัดใบ. มูลนิธิโครงการหลวง. เชียงใหม่. 375 หน้า.