องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

เหงือกปลาหมอ

ชื่อสามัญ   Saltbush, Sea holly

ชื่อวิทยาศาสตร์  Acanthus ebracteatus Vahl

วงศ์   ACANTHACEAE

ภาคเหนือ เหงือกปลาหมอ ภาคกลาง เหงือกปลาหมอ ภาคอีสาน ภาคใต้ แก้มหมอ แก้มหมอเล

เหงือกปลาหมอเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีหนามตามข้อ ลำต้นเป็นโพรง เมื่อแก่มีรากค้ำจุนและรากอากาศ ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม ขอบใบจักฟันเลื่อยห่าง ปลายซี่เป็นหนาม ผิวใบเรียบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวแข็ง ดอกเป็นช่อออกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาวมีจุดประสีม่วงแดง ผลเป็นฝักรูปไข่หรือทรงกระบอก เมล็ดรูปกระดุม ผิวเกลี้ยง

สภาพนิเวศ : ชอบขึ้นตามชายน้ำ ริมลำคลอง รวมถึงพื้นที่ชุ่มชื้นที่มีน้ำทะเลหรือน้ำกร่อยเข้าถึง

การขยายพันธุ์ :  ปักชำกิ่ง

สถานภาพในชุมชนปางมะโอ

การใช้ประโยชน์ : มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ใช้ทั้งต้นต้มน้ำดื่ม แก้ปวดท้อง ใบต้มผสมกับน้ำผึ้งให้ไก่ชนกินเป็นยาบำรุงกำลัง

แหล่งที่พบ : พบปลูกตามรั้วรอบบ้าน

เกร็ดน่ารู้  : เหงือกปลาหมอ มี 2 ชนิดคือ เหงือกปลาหมอดอกขาว (A. ebracteatus ) และเหงือกปลาหมอดอกม่วง (A. ilicifolius) ทั้งสองชนิดมีรายงานว่ามีสารประกอบ Glycoside ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการเกิดพิษที่ตับ และต้านการอักเสบ