องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

ว่านสาวหลง

0

ชื่อวิทยาศาสตร์  Amomum biflorum Jack

วงศ์  ZINGIBERACEAE

ภาคเหนือ ว่านสาวหลง ภาคกลาง ว่านสาวหลง ภาคอีสาน ภาคใต้ -

ว่านสาวหลงเป็นพืชล้มลุกในวงศ์ขิงข่า มีเหง้าทอดเลื้อยอยู่ใต้ดิน ลำต้นเทียมเกิดจากกาบใบอัดกันแน่น ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปหอก ปลายใบเรียวแหลม ขอบใบบิด เส้นกลางใบสีแดงเรื่อ ใบมีขนนุ่มปกคลุม ดอกออกตามเหง้าใต้ดิน ดอกย่อยสีเหลือง ก้านดอกยาว ปลายช่อโค้ง ผลเป็นช่อคล้ายช่อพริกไทย

สภาพนิเวศ : ชอบขึ้นในดินร่วนซุยระบายน้ำดี แสงแดดรำไร

การขยายพันธุ์ : แยกกอ

สถานภาพในชุมชนปางมะโอ

การใช้ประโยชน์ : มีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพร ราก ใบและลำต้น ต้มน้ำดื่มแก้ร้อนใน ขับลมในกระเพาะ คนสมัยก่อนนำใบมาขยี้ใส่ผมเพื่อให้มีกลิ่นหอม

แหล่งที่พบ : พบปลูกรอบบ้านและสวนสมุนไพรของชุมชน

เกร็ดน่ารู้ : ทุกส่วนของว่านสาวหลงมีกลิ่นหอมแรง ใช้เป็นยาสมุนไพร ราก ใบและต้น ต้มน้ำดื่มแก้ร้อนใน ขับลมในลำไส้ หรือต้มน้ำอาบช่วยบำรุงผิวพรรณ เป็นพืชมงคลจึงนิยมปลูกไว้รอบบ้าน บ้างว่าเป็นว่านเมตตามหานิยม ทาตามตัวให้เป็นเสน่ห์