องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน - HKM

กำแพงเจ็ดชั้น

ชื่อวิทยาศาสตร์  Salacia chinensis L.

วงศ์  ELASTRACEAE

ภาคเหนือ กำแพงเจ็ดชั้น น้ำนอง มะต่อมไก่ ภาคกลาง กำแพงเจ็ดชั้น ตะลุ่มนก ภาคอีสาน ตาไก้ ภาคใต้ กำแพงเจ็ดชั้น

กำแพงเจ็ดชั้นเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย เนื้อไม้มีสีแดงมีเส้นวงสีดำซ้อนกัน 7-9 ชั้น ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปรีหรือรูปไข่กลับ โคนใบสอบ ปลายใบแหลมหรือมน ขอบใบหยัก ช่อดอกออกเป็นกลุ่มหรือเป็นช่อสั้นๆ ที่ง่ามใบ ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลือง ผลกลม เมื่อสุกสีแดงหรือแดงอมส้มรสหวานรับประทานได้ เมล็ดกลมขนาดเล็ก

สภาพนิเวศ : ชอบขึ้นตามป่าเบญพรรณและป่าดิบแล้ง บริเวณริมแหล่งน้ำหรือที่โล่ง

การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด

สถานภาพในชุมชนปางมะโอ

การใช้ประโยชน์ : ลำต้น ตากแห้งต้มหรือดองเหล้า ดื่มบำรุงกำลัง บำรุงเลือด แก้เลือดเป็นพิษ แก้ปวดข้อ ปวดเมื่อย เป็นยาระบาย ราก ต้มหรือดองเหล้า ขับระดู ดับพิษร้อนของเลือด

แหล่งที่พบ : พบในป่าดิบแล้งรอบชุมชน

เกร็ดน่ารู้ : ราก แก้ลมอัณฑพฤกษ์ ขับลม รักษาโรคตา บำรุงน้ำเหลือง หัว รักษาบาดแผลเรื้อรัง รักษาตะมอยหรือตาเดือน เถา ขับระดู ฟอกเลือด บำรุงเลือด บำรุงหัวใจ แก้ไข้ แก้โรคปวดบวมตามข้อ แก้ประดง แก้ซางให้ตาเหลือง แก้ดีพิการ ใบ แก้มุตกิต ขับระดู ขับน้ำคาวปลา ดอก แก้บิดมูกเลือด